เนื้อหาบทที่ 7
การเขียนสารคดี
ความหมายของสารคดี
สารคดี หมายถึง ข้อเขียนที่มีเนื้อหาสาระและมีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความคิดแก่ผู้อ่าน ในขณะเดียวกันก็ให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านด้วยความสามารถในการใช้ภาษาร้อยแก้วที่สละสลวย ความแตกต่างของสารคดีกับงานเขียนชนิดอื่นๆ
• สารคดีกับบทความ
บทความและสารคดี (Feature) ต่างก็เป็น สารคดี (Non-Fiction) แต่บทความเน้นการให้ทัศนะข้อคิดและข้อวินิจฉัยของผู้เขียน ส่วนสารคดีมุ่งให้ข้อมูลข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้อ่านได้ทราบ และให้ความเพลิดเพลิน โดยไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นอารมณ์ส่วนตัวลงไป ไม่มีจุดมุ่งหมายในการโน้มน้าวใจผู้อ่าน
• สารคดีกับข่าว
ทั้งข่าวและสารคดี (Feature) ต่างมุ่งเสนอข้อเท็จจริง (Fact) แต่ต่างกันที่รูปแบบและวัตถุประสงค์ในการนาเสนอ
ข่าวรายงานเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงภายใต้เงื่อนไขเวลาที่รวดเร็วสดและถูกต้องมีรูปแบบการรายงานที่แน่นอนคือปิรามิดหัวกลับโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสรุปประเด็นของเหตุการณ์ให้ผู้อ่านทราบใช้ภาษากระชับ
สารคดีแม้วัตถุประสงค์ในการนาเสนอข้อเท็จจริงเหมือนข่าวแต่รูปแบบการนาเสนอมีลักษณะแบบเรียงความใช้ความสามารถทางภาษาในการบรรยายพรรณนาเหตุการณ์ซึ่งให้ความสาคัญกับอารมณ์มากกว่า
•สารคดีกับเรื่องสั้น
เรื่องสั้นเป็นบันเทิงคดีที่เป็นเรื่องแต่งขึ้นแม้เค้าโครงอาจมาจากเหตุการณ์จริงแต่ไม่สามารถนาไปอ้างอิงได้
สารคดีต้องเสนอแต่ความจริงที่เห็นได้รู้สึกได้อ้างอิงได้แต่สิ่งที่คล้ายกันคือลีลาและรูปแบบการเขียนผู้เขียนอาจนาเสนอสารคดีเป็นเรื่องสั้นเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
คุณลักษณะของสารคดี
1. ความคิดสร้างสรรค์นักเขียนมีอิสระในการผูกเรื่องคิดรูปแบบได้หลากหลายสามารถเสนอเรื่องราวที่แปลกน่าสนใจ
2. ความเป็นอัตวิสัยผู้เขียนได้เขียนอย่างใจคิดสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนิดคิดของตนให้ผู้อ่านได้
3. ความมีสาระเนื้อเรื่องมีสาระประโยชน์เป็นงานเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความคิด
4. ความบันเทิงใช้สานวนภาษาสร้างความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านและผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจาวัน
5. ไม่ล้าสมัยไม่มีการจากัดกาลเวลาเหมือนข่าว
ประเภทของสารคดี
1. สารคดีเกี่ยวกับข่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันอาจเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจเขียนขึ้นเพื่อขยายหรือเจาะลึกประเด็นที่ซ่อนเร้นอยู่ในข่าว
2. สารคดีสนองปุถุชนวิสัยเป็นเรื่องราวใดๆก็ตามที่สนองความอยากรู้อยากเห็นอันเป็นวิสัยของประชาชนจุดเด่นอยู่ที่ความแปลกเรื่องที่มักนามาเขียนมักเกี่ยวกับบุคคลสัตว์ภัยธรรมชาติการผจญภัยเป็นต้น
3. สารคดีทั่วไปประภทอื่นนอกเหนือจาก1,2 เช่นสารคดีชีวประวัติสารคดีท่องเที่ยวสารคดีวิชาการเป็นต้นโดยแตกต่างจากสารคดีสนองปุถุชนวิสัยตรงที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตที่หลายคนพบเห็นอาจไม่สะดุดใจไม่ถึงกับแปลกเร้าใจอยากรู้อยากเห็น
รูปแบบของสารคดี
มีรูปแบบการเขียนหลายลักษณะที่นิยมคือความเรียงบันทึกและจดหมายในปัจจุบันนิยมเขียนสารคดีที่มีรูปแบบเป็นบันเทิงคดีเพิ่มขึ้นคือสารคดีที่นาเรื่องราวที่เป็นเรื่องจริงมาเขียนแบบเรื่องสั้นหรือนวนิยายมีตัวละครบทสนทนาฉากมีการดาเนินเรื่องที่รวดเร็วชวนติดตามทาให้เกิดความสนุกสนานแก่ผู้อ่านผู้ชม
หลักการเขียนสารคดี
1. ต้องใช้สานวนภาษาที่บุคคลทั่วไปเข้าใจง่ายไม่ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่มเช่นภาษาวัยรุ่นหรือภาษาของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่รู้กันเองเฉพาะกลุ่ม
2. ให้ความเพลิดเพลินและให้ผู้อ่านครุ่นคิดบางครั้งความเศร้าโศกของเนื้อเรื่องก็สามารถทาให้ผู้อ่านรู้สึกตื้นต้นใจและเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับเนื้อหาของเรื่องได้
3. ให้ความเร้าใจเช่นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆให้ความเห็นอกเห็นใจและความแปลกที่ไม่ซ้าแบบใคร
4. อย่าให้ยาวมากถ้าเป็นสารคดีขนาดยาวควรแบ่งเป็นตอนๆอ่านจบในระยะเวลา๑๕-๓๐นาทีเป็นอย่างมากและช่วงเวลานี้ควรจะมีหลากเรื่องหลายรสในเวลาเดียวกัน
ขั้นตอนการเขียนสารคดี
1. ตั้งจุดมุ่งหมายในการเขียน
2. การเลือกเรื่องเรื่องที่นามาเขียนมีทั่วไปเช่นเรื่องของมนุษย์สัตว์สถานที่ต่างๆเป็นต้น
3. มองหาเนื้อเรื่องที่จะเขียนบางครั้งสามารถเลือกเรื่องได้แล้วแต่ว่ายังไม่มีเนื้อเรื่องที่จะเขียนทั้งนี้วิธีง่ายๆคือให้นาเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเราและรู้เรื่องนั้นดีที่สุดมาเขียนให้ผู้อื่นได้อ่าน
4. การตั้งชื่อเรื่องหลังจากได้เนื้อเรื่องมาแล้วให้คิดตั้งชื่อเรื่องเป็นอันดับแรกเพราะเหตุว่าชื่อเรื่องจะเป็นแนวกาหนดหรือเป็นแนวความคิดรวบยอดให้ทราบว่าเรากาลังจะเขียนสารคดีไปในแนวทางไหนซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเขียนตรงตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
5. การเตรียมตัวเตรียมข้อมูลโดยศึกษาแหล่งข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การลงมือเขียนลงมือเขียนโดยตั้งชื่อเรื่องเขียนโครงเรื่องและลงมือเขียนรายละเอียดของเรื่อง
7. การทบทวนเรื่องที่เขียนควรทบทวนสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องและจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้หรือไม่พิจารณาความถูกต้องสมบูรณ์ความเหมาะสมของเนื้อหารวมทั้งการใช้ภาษาและสัมพันธภาพของเรื่องด้วย
8. การตรวจทาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น